การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2541 ได้รับรองสิทธิของผู้บริโภคเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง คือ “ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
“สัญญา” หมายความว่า ความตกลงกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อซื้อและขายสินค้าหรือให้และรับบริการ
องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คนแต่ไม่เกิน 13 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา มีอำนาจ
1. กำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา(เช่นธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์)
เงื่อนไขของธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
ต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือ ตามปกติประเพณีต้องทำเป็นหนังสือ หรือ มีการใช้สัญญาสำเร็จรูป
2. กำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน(เช่นธุรกิจขายก๊าซหุงต้มและธุรกิจให้บริการซ่อมรถยนต์
เงื่อนไขของธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน
ต้องเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของผู้บริโภค►ผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าผู้บริโภคโดยพิจารณา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น