1.การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็ม 2. การแสดงกรอบโภชนาการแบบย่อ
ข้อมูลโภชนาการที่แสดงบนฉลาก แบ่งเป็น
ข้อมูลบังคับ คือข้อมูลสารอาหารที่มีความสำคัญสำหรับคนไทย ได้แก่
-คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน (ซึ่งเป็นสารที่ใหพลังงาน)
-วิตามิน เกลือแร่ (โดยเฉพาะที่สำคัญสำหรับภาวะโภชนาการของคนไทยปัจจุบัน คือ วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 แคลเซียม เหล็ก)
-สารอาหารที่ต้องระวังไม่ให้กินมากเกินไป ได้แก่ โคเลสเตอรอล และโซเดียม
ข้อมูลที่ไม่บังคับ เช่น วิตามิน เกลือแร่อื่นๆ ก็สามารถใส่ในฉลากได้ แต่ต้องเรียงลำดับตามกำหนด
สารอาหารบังคับ ในกรอบข้อมูลโภชนาการแบบเต็ม มี 15 ตัว ได้แก่ พลังงานทั้งหมด พลังงานจากไขมัน ไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว
โคเลสเตอรอล โปรตีน คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด ใยอาหาร น้ำตาล โซเดียม วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 แคลเซียม เหล็ก
สารอาหารบังคับ ในกรอบข้อมูลโภชนาการแบบย่อมี 6 ตัว ได้แก่ พลังงานทั้งหมด ไขมันทั้งหมด โปรตีน คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด น้ำตาล โซเดียม
การอ่านฉลากโภชนาการ
หนึ่งหน่วยบริโภค หมายถึง "กินครั้งละ" เป็นปริมาณที่ผู้ผลิต แนะนำให้ผู้บริโภคกิน ซึ่งเมื่อกินในปริมาณเท่านี้แล้วก็จะได้รับสารอาหารตามที่ระบุอยู่ในช่วงต่อไปของกรอบข้อมูลโภชนาการ
หนึ่งหน่วยบริโภคจะต้องแสดงเป็น 2 ส่วน อยู่ด้วยกัน ส่วนแรก คือบอกปริมาณที่เห็นได้ง่าย เช่น กระป๋อง ชิ้น ถ้วย แก้ว เป็นต้น เสร็จแล้วกำกับด้วยน้ำหนัก หรือปริมาตร เป็นระบบเมตริก ตัวอย่างเช่น
" 1 กระป๋อง (325 มิลลิลิตร)" เครื่องดื่มน้ำอัดลม
"4 ลูก (140 กรัม รวมน้ำเชื่อม)" ลิ้นจี่ในน้ำเชื่อมเข้มข้น บรรจุกระป๋อง
จำไว้ว่า ปริมาณ 1 หน่วยบริโภค ไม่จำเป็นต้องเท่ากันเสมอไป
-ถ้ากินหมดในครั้งเดียว ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภค คือน้ำหนัก หรือปริมาตรสุทธิของอาหารนั้น
-ถ้าต้องแบ่งกกิน ปริมาณหนึ่งหน่วยบริโภคต้องใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของการกินอาหารประเภทนั้น ค่าเฉลี่ยนี้ เรียกว่า "หนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิง (Reference Amount) ผู้ผลิตจะเป็นผู้คำนวณตามกฏที่กำหนดในประกาศฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น