ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
ระเบียบข้อบังคับของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
-----------------------------
ระเบียบข้อบังคับของชมรมคุ้มครองผู้บริโภคโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
หมวดที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑. ชมรมมีชื่อว่า “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม”
ข้อ ๒. เครื่องหมายของชมรมมีลักษณะ
ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
ความหมาย รวมพลังยุว อสคบ.
หมวดที่ ๒
ข้อ ๓. วัตถุประสงค์ของชมรม
๓.๑ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่สมาชิกชมรม และนักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้ตระหนักถึงสิทธิ
และหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
๓.๒ เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริโภคศึกษาในโรงเรียนให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น
๓.๓ เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและงดเว้นการใช้สินค้า
และบริการที่ไม่เหมาะสม
๓.๔ เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ และเป็นสื่อชักนำประชาชนในชุมชนให้ตระหนักถึง
บทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเองและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
๓.๕ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการรวมพลังผู้บริโภค
๓.๖ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่นักเรียนในโรงเรียน
๓.๗ เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมร่วมกัน
๓.๘ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน และอาจารย์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
หมวดที่ ๓
การเข้าเป็นสมาชิก
ข้อ ๔. ผู้ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ให้ยื่นใบสมัครต่อเลขานุการของชมรมตามแบบฟอร์ม ซึ่งจะขอได้จากประชาสัมพันธ์ของชมรม
หมวดที่ ๔
สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ ๕. สมาชิกมีหน้าที่ดังนี้
๕.๑ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับชมรมต่อกรรมการชมรม
๕.๒ มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมของชมรมตามที่คณะกรรมการชมรมกำหนด
๕.๓ มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการชมรมตามที่คณะกรรมการชมรมกำหนด
๕.๔ มีสิทธิได้รับสิ่งต่างๆ ที่ชมรมจัดให้
ข้อ ๖. หน้าที่ของสมาชิก
๖.๑ ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และระเบียบของชมรม
๖.๒ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
ข้อ ๗. การพ้นการเป็นสมาชิก
๗.๑ มีความประพฤติเสื่อมเสีย คณะกรรมการให้ออก โดยลงมติให้ออกด้วย
๗.๒ ตาย
๗.๓ ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อเลขานุการให้ประธานชมรมอนุมัติ
หมวดที่ ๕
การบริหารงาน
ข้อ ๘. การบริหารงานของชมรมให้มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งไม่เกิน 10 คนและคณะกรรมการนี้จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
๘.๑ ประธานชมรม ๑ คน
๘.๒ รองประธานชมรม ๑ คน
๘.๓ เลขานุการ ๑ คน
๘.๔ นายทะเบียน ๑ คน
๘.๕ เหรัญญิก ๑ คน
๘.๖ ประชาสัมพันธ์ ๑ คน
๘.๗ กรรมการ ๔ คน
ข้อ ๙. การเลือกตั้งคณะกรรมการชมรม
๙.๑ ประธานและรองประธานชมรมให้เลือกโดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
๙.๒ คณะกรรมการคนอื่นๆ ให้เลือกโดยประธาน และรองประธานกรรมการ
ข้อ ๑๐. กรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑๐.๑ ประธานมีอำนาจและหน้าที่บริหารกิจกรรมของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และ
ระเบียบของชมรม และประธานในที่ประชุม
๑๐.๒ รองประธานชมรมมีอำนาจหน้าที่ ตามที่ประธานกำหนดให้และช่วยเหลือประธานใน
กิจกรรมต่างๆ ทั่วไปรักษาการแทนประธานในเมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติงานได้
๑๐.๓ เลขานุการมีหน้าที่จดบันทึกการประชุม ทำหนังสือให้ประธานเป็นผู้นัดประชุม
กำหนดเวลา สถานที่ที่จะประชุมแจ้งให้สมาชิกทราบ ประสานงานกับกรรมการทุกฝ่าย
๑๐.๔ นายทะเบียนมีหน้าที่รักษาทะเบียนสมาชิกชมรม รักษาเอกสารทุกชนิดตลอดจนเอกสาร
การเงิน
๑๐.๕ เหรัญญิกมีหน้าที่เก็บรักษาเงินของชมรม จ่ายเงินตามคำสั่งของประธาน แต่ถ้ามีเงินตั้งแต่
500 บาท ขึ้นไป จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียนก่อน
๑๐.๖ ประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานแจ้งข่าวสาร และข่าวต่างๆ ให้มีผู้เกี่ยวข้องได้
ทราบโดยทั่วกัน
ข้อ ๑๑. การประชุมคณะกรรมการบริหารให้มีอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้ประธานเป็นผู้กำหนด วัน
เวลา และสถานที่ประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมจะต้องมีกรรมการประชุมไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของ
กรรมการทั้งหมด การพิจารณาวินิจฉัยให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติเด็ดขาด ถ้าคะแนนเท่ากันให้
ประธานชี้ขาด
ข้อ ๑๒. ในการประชุม ให้ประธานทำหน้าที่ประธาน เมื่อประธานไม่อยู่ให้รองประธานทำหน้าที่ประธาน
ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่
ประชุม
ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.....................................
(นายสายัณ เชาวลิต)
รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
ข้อบังคับชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
๑. ชื่อของชมรม “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม”
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการใช้และรักษาสิทธิของเยาวชนผู้บริโภค
๒.๒ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนในทางสร้างสรรค์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
๓. หน้าที่ของชมรม
๓.๑ ทำการศึกษาเรื่องสินค้าและบริการ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อนำออกเผยแพร่ให้
สมาชิกของชมรมและผู้สนใจได้ทราบและจัดรณรงค์ต่อต้านผู้ประกอบธุรกิจที่รับผิดชอบต่อ
สินค้าและบริการดังกล่าว
๓.๒ วางแผนจัดและดำเนินรายการ เผยแพร่ให้ความรู้ ( Consumer Education Programme) ขึ้นใน
สถานศึกษา ยกตัวอย่างเช่น จัดการอภิปรายและสัมมนา นิทรรศการ กิจกรรมเหล่านี้ควร
จัดเป็นประจำและเตรียมไว้สำหรับระยะเวลานานด้วย
๓.๓ จัดทำโครงการต่างๆ และทำการสอบสวนเรื่องใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อประโยชน์ของ
ผู้บริโภคในท้องถิ่นและทั่วไปและเสนอผลให้ทราบทั่วกัน
๓.๔ เป็นผู้จัดให้มีการประชุมหารือ และติดต่อประสานงานระหว่างชมรมเยาวชนผู้บริโภค กับ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓.๕ ให้ความร่วมมือกับสมาคมหรือชมรมคุ้มครองผู้บริโภค และร่วมกิจกรรมของคุ้มครอง
ผู้บริโภคและรายการเผยแพร่ในระดับต่างๆ ของชมรม
๓.๖ ทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้ชมรมประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของชมรม
๔. สมาชิกภาพ
๔.๑ นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกษานั้นๆ ย่อมเป็นสมาชิกของชมรมได้หากปฏิบัติตามกฎ
ข้อบังคับของชมรม และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
๔.๒ เงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาชิก และกำหนดเวลาชำระองค์การบริหาร
ของชมรมและกิจกรรมของชมรมนั้นให้ตกลงกันในที่ประชุมใหญ่
๕. การประชุมใหญ่ประจำปี
๕.๑ ให้มีการประชุมใหญ่ประจำปี ปีละครั้ง ณ เวลาและสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับสมาชิก
ทั้งหมดให้แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าในเวลาอันสมควร
๕.๒ ในระเบียบวาระการประชุมให้เสนอผลงานประจำปี รายงานการเงิน และเลือกตั้งกรรมการ
และเรื่องอื่นถ้ามี
๕.๓ ในการประชุมใหญ่ประจำปี ให้มีการเลือกตั้งประธานชมรม เลขานุการ เหรัญญิก และ
กรรมการทำหน้าที่กรรมการบริหารชมรม การเลือกตั้งนั้นจะใช้วิธีการลงคะแนนเสียงหรือ
โดยการยกมือก็ได้
๕.๔ ผลการเลือกตั้ง และรายงานประจำปีของชมรม ควรส่งไปให้สำนักงานคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจะได้สามารถประสานงานให้คำแนะนำติดตามพัฒนาการของชมรม
และให้ความสนับสนุนทางด้านวัตถุและอื่นๆ
๕.๕ การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ จะกระทำได้โดยคณะกรรมการบริหารเมื่อมีความจำเป็นหรือ
โดยกรรมการจำนวนหนึ่งครบองค์ประชุม
๖. คณะกรรมการบริหารงาน
๖.๑ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งปวงของชมรม
๖.๒ คณะกรรมการบริหารที่ปรึกษา ควรประชุมกันเมื่อเห็นว่าจำเป็น เพื่อหารือเรื่องผลงาน
รายงานโครงการและปัญหาต่างๆ ของชมรม แต่คณะกรรมการบริหารต้องไม่บงการชมรมใน
เรื่องการวางแผน การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรม การเข้ามามีส่วนร่วมของสมาชิกทุก
คนในกิจกรรมเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ คณะกรรมการบริหารจักต้องแสวงหาความเห็น
ข้อคิดเห็นของสมาชิกทั้งหมด และส่งเสริมให้มีการอภิปรายกันเสียก่อนที่จะมีการตกลงด้วย
เรื่องใดๆ
๖.๓ คณะกรรมการบริหารควรจะให้ชมรมและสมาชิกได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
๗. หน้าที่ของกรรมการชมรม
ประธาน - เป็นประธานการประชุมกรรมการบริหาร และการประชุมใหญ่
- ดูแลให้คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ
เลขานุการ - จดรายงานการประชุม และรักษาทะเบียนของสมาชิกชมรม
- ประสานงานกิจกรรมต่างๆ
- จัดทำรายงานของชมรม
- ทำหน้าที่ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการ
ดำเนินกิจกรรมหรือรายงานต่างๆ ของชมรม
เหรัญญิก - รับผิดชอบในเรื่องการเงินของชมรม และเสนอการเงินต่อที่ประชุม
ที่ปรึกษา - รับผิดชอบในการให้คำปรึกษา และการให้ความรู้แก่สมาชิกของชมรม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น