การดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2541 ได้รับรองสิทธิของผู้บริโภคเพิ่มเติมอีกประการหนึ่ง คือ “ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
“สัญญา” หมายความว่า ความตกลงกันระหว่างผู้บริโภคและผู้ประกอบธุรกิจเพื่อซื้อและขายสินค้าหรือให้และรับบริการ
องค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา
ประกอบด้วยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องจำนวนไม่น้อยกว่า 7 คนแต่ไม่เกิน 13 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยอยู่ในตำแหน่งคราวละ 2 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง
คณะกรรมการว่าด้วยสัญญา มีอำนาจ
1. กำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา(เช่นธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์)
เงื่อนไขของธุรกิจที่ควบคุมสัญญา
ต้องมีการทำสัญญาเป็นหนังสือ ตามปกติประเพณีต้องทำเป็นหนังสือ หรือ มีการใช้สัญญาสำเร็จรูป
2. กำหนดให้การประกอบธุรกิจขายสินค้าหรือให้บริการใดเป็นธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน(เช่นธุรกิจขายก๊าซหุงต้มและธุรกิจให้บริการซ่อมรถยนต์
เงื่อนไขของธุรกิจที่ควบคุมรายการในหลักฐานการรับเงิน
ต้องเกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตประจำวันของผู้บริโภค►ผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจต่อรองเหนือกว่าผู้บริโภคโดยพิจารณา
ยุว อสคบ.โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
วันคุ้มครองผู้บริโภค 30 เมษายน 2553
วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553
การคุ้มครองผู้บริโภคด้านฉลาก
ฉลาก คือ
รูปรอยประดิษฐ์ กระดาษหรือสิ่งอื่นใดที่ทำให้ปรากฏข้อความเกี่ยวกับสินค้า
สินค้าอะไรบ้างเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประเภทที่ ๑ กฎหมายกำหนดให้สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก
ประเภทที่ ๒ สินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจเนื่องในการใช้สินค้า
หรือโดยสภาพของสินค้านั้นหรือเป็นสินค้าที่ประชาชนทั่วไปใช้เป็นประจำ
ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก
1. ต้องตรงต่อความเป็นจริง
ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสาระสำคัญของสินค้านั้น
2. ต้องเป็นภาษาไทยหรือภาษาไทยกำกับภาษาต่างประเทศ สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจน
ฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากจะต้องระบุข้อความต่อไปน
- ชื่อประเภทหรือชนิดของสินค้า
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้า
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนำเข้า
มาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- ที่อยู่-สถานที่ตั้ง ที่สามารถติดต่อได้จริง
- ชื่อหรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนในประเทศไทยของผู้สั่งหรือนำเข้า
มาในราชอาณาจักรเพื่อขาย
- ที่อยู่-สถานที่ตั้ง ที่สามารถติดต่อได้จริง
- ขนาด, มิติ ,ปริมาณ,ปริมาตร,น้ำหนัก หรือจำนวนบรรจุ
- วิธีใช้
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้
- คำเตือน ( ถ้ามี )
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือที่ควรใช้ก่อน
- ราคา พร้อมระบุหน่วยบาท
- วิธีใช้
- ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้
- คำเตือน ( ถ้ามี )
- วันเดือนปีที่ผลิต หรือหมดอายุ หรือที่ควรใช้ก่อน
- ราคา พร้อมระบุหน่วยบาท
วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
รายงานผลการจัดกิจกรรมชมรมคุ้มครองผู้บริโภคปีการศึกษา 2552
รายงานผลการจัดกิจกรรมของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
1. ชื่อโครงการ คุ้มครองผู้บริโภค
2. สถานที่ตั้ง 3 หมู่ 4 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 80320
3. ครูที่ปรึกษาชมรม
1. นางอัมรา เชาวลิต
2. นางวรวรรณ ศรีสุชาติ
3. นางวรรณะ เพ็ญทอง
4. นักเรียนแกนนำ จำนวน 20 คน
5. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
-เริ่มต้นเดือน พฤษภาคม 2552 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
-สิ้นสุดโครงการ เดือน กุมภาพันธ์ 2553 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
6. หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้วิถีชีวิตของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชน จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเร่งสร้างคุณภาพด้านการศึกษาและด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีชีวิตที่ดี รู้จักเลือกซื้อ เลือกใช้ ตลอดจนรู้จักการพิจารณาตัดสินใจก่อนซื้อหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพ การรวมพลังผู้บริโภค เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายตามหลักการพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ภูมิปัญญาความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ดังนั้นโครงการคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม จึงได้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักดูแลตนเองและครอบครัวในการพิจารณาเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
7. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สมาชิกชมรม และนักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
1. ชื่อโครงการ คุ้มครองผู้บริโภค
2. สถานที่ตั้ง 3 หมู่ 4 ตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช 80320
3. ครูที่ปรึกษาชมรม
1. นางอัมรา เชาวลิต
2. นางวรวรรณ ศรีสุชาติ
3. นางวรรณะ เพ็ญทอง
4. นักเรียนแกนนำ จำนวน 20 คน
5. ระยะเวลาการดำเนินโครงการ
-เริ่มต้นเดือน พฤษภาคม 2552 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
-สิ้นสุดโครงการ เดือน กุมภาพันธ์ 2553 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
6. หลักการและเหตุผล
สภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้วิถีชีวิตของเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะการบริโภคข้อมูลข่าวสาร ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการบริโภคของเยาวชน จากปัญหาดังกล่าวจึงจำเป็นต้องเร่งสร้างคุณภาพด้านการศึกษาและด้านสุขภาพ เพื่อพัฒนาศักยภาพของเยาวชนให้เป็นผู้ที่มีชีวิตที่ดี รู้จักเลือกซื้อ เลือกใช้ ตลอดจนรู้จักการพิจารณาตัดสินใจก่อนซื้อหรือใช้บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพ การรวมพลังผู้บริโภค เพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายตามหลักการพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 6 “การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาเด็กไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ ภูมิปัญญาความรู้ และคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ดังนั้นโครงการคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม จึงได้เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้รู้จักดูแลตนเองและครอบครัวในการพิจารณาเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ
7. วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สมาชิกชมรม และนักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้ตระหนักถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค
พ.ศ. 2522
2. เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริโภคศึกษาในโรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและงดเว้นการใช้ สินค้าและบริการที่ไม่เหมาะสม
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ และเป็นสื่อชักนำประชาชนในชุมชนให้ตระหนักถึงบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเองและเรื่องอื่นๆ
2. เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริโภคศึกษาในโรงเรียนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
3. เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและงดเว้นการใช้ สินค้าและบริการที่ไม่เหมาะสม
4. เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ และเป็นสื่อชักนำประชาชนในชุมชนให้ตระหนักถึงบทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเองและเรื่องอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
5. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการรวมพลังผู้บริโภค
6. เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่นักเรียนในโรงเรียน
7. เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมร่วมกัน
8. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน และอาจารย์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
8. เป้าหมายภาพรวมของโครงการ
นักเรียนโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อ เลือกใช้บริการที่มีคุณภาพ และตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภคตาม
5. เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการรวมพลังผู้บริโภค
6. เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่นักเรียนในโรงเรียน
7. เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมร่วมกัน
8. เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน และอาจารย์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
8. เป้าหมายภาพรวมของโครงการ
นักเรียนโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกซื้อ เลือกใช้บริการที่มีคุณภาพ และตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภคตาม
พรราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ตลอดจนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลสู่ชุมชนในรูปของการรวมพลังผู้บริโภค
9. ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
นักเรียน/ชุมชน ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
10. การดำเนินการโครงการ
1. กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหาร ทางชมรมได้จัดให้ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียนทำการตรวจสุขภาพโดยแพทย์จากโรงพยาบาลพรหมคีรี ปีละ
9. ผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
นักเรียน/ชุมชน ตระหนักถึงสิทธิหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
10. การดำเนินการโครงการ
1. กิจกรรมตรวจสุขภาพผู้สัมผัสอาหาร ทางชมรมได้จัดให้ผู้จำหน่ายอาหารในโรงเรียนทำการตรวจสุขภาพโดยแพทย์จากโรงพยาบาลพรหมคีรี ปีละ
1 ครั้ง และทำการตรวจสุขอนามัยของผู้จำหน่ายอาหารโดยนักเรียนแกนนำชมรมคุ้มครองผู้บริโภค เดือนละ 1 ครั้ง
2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนอาหารในโรงเรียน/ชุมชน
1. กิจกรรมเสียงตามสาย 5 นาที
2. กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ในโรงเรียนและชุมชน
3. กิจกรรม เฝ้าระวัง / ตรวจสอบ / สอดส่อง การใช้บริการสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
4. กิจกรรมบูรณาการสู่การเรียนการสอน (โครงงาน)
5. กิจกรรมพี่สอนน้อง (อบรม)
6. กิจกรรมประกวดคำขวัญ / วาดภาพ
2. กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อนอาหารในโรงเรียน/ชุมชน
1. กิจกรรมเสียงตามสาย 5 นาที
2. กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ในโรงเรียนและชุมชน
3. กิจกรรม เฝ้าระวัง / ตรวจสอบ / สอดส่อง การใช้บริการสุขภาพในโรงเรียนและชุมชน
4. กิจกรรมบูรณาการสู่การเรียนการสอน (โครงงาน)
5. กิจกรรมพี่สอนน้อง (อบรม)
6. กิจกรรมประกวดคำขวัญ / วาดภาพ
ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
ระเบียบข้อบังคับของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
-----------------------------
ระเบียบข้อบังคับของชมรมคุ้มครองผู้บริโภคโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
หมวดที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑. ชมรมมีชื่อว่า “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม”
ข้อ ๒. เครื่องหมายของชมรมมีลักษณะ
ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
ความหมาย รวมพลังยุว อสคบ.
หมวดที่ ๒
ข้อ ๓. วัตถุประสงค์ของชมรม
๓.๑ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่สมาชิกชมรม และนักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้ตระหนักถึงสิทธิ
และหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
๓.๒ เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริโภคศึกษาในโรงเรียนให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น
๓.๓ เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและงดเว้นการใช้สินค้า
และบริการที่ไม่เหมาะสม
๓.๔ เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ และเป็นสื่อชักนำประชาชนในชุมชนให้ตระหนักถึง
บทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเองและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
๓.๕ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการรวมพลังผู้บริโภค
๓.๖ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่นักเรียนในโรงเรียน
๓.๗ เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมร่วมกัน
๓.๘ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน และอาจารย์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
หมวดที่ ๓
การเข้าเป็นสมาชิก
ข้อ ๔. ผู้ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ให้ยื่นใบสมัครต่อเลขานุการของชมรมตามแบบฟอร์ม ซึ่งจะขอได้จากประชาสัมพันธ์ของชมรม
หมวดที่ ๔
สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ ๕. สมาชิกมีหน้าที่ดังนี้
๕.๑ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับชมรมต่อกรรมการชมรม
๕.๒ มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมของชมรมตามที่คณะกรรมการชมรมกำหนด
๕.๓ มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการชมรมตามที่คณะกรรมการชมรมกำหนด
๕.๔ มีสิทธิได้รับสิ่งต่างๆ ที่ชมรมจัดให้
ข้อ ๖. หน้าที่ของสมาชิก
๖.๑ ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และระเบียบของชมรม
๖.๒ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
ข้อ ๗. การพ้นการเป็นสมาชิก
๗.๑ มีความประพฤติเสื่อมเสีย คณะกรรมการให้ออก โดยลงมติให้ออกด้วย
๗.๒ ตาย
๗.๓ ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อเลขานุการให้ประธานชมรมอนุมัติ
หมวดที่ ๕
การบริหารงาน
ข้อ ๘. การบริหารงานของชมรมให้มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งไม่เกิน 10 คนและคณะกรรมการนี้จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
๘.๑ ประธานชมรม ๑ คน
๘.๒ รองประธานชมรม ๑ คน
๘.๓ เลขานุการ ๑ คน
๘.๔ นายทะเบียน ๑ คน
๘.๕ เหรัญญิก ๑ คน
๘.๖ ประชาสัมพันธ์ ๑ คน
๘.๗ กรรมการ ๔ คน
ข้อ ๙. การเลือกตั้งคณะกรรมการชมรม
๙.๑ ประธานและรองประธานชมรมให้เลือกโดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
๙.๒ คณะกรรมการคนอื่นๆ ให้เลือกโดยประธาน และรองประธานกรรมการ
ข้อ ๑๐. กรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑๐.๑ ประธานมีอำนาจและหน้าที่บริหารกิจกรรมของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และ
ระเบียบของชมรม และประธานในที่ประชุม
๑๐.๒ รองประธานชมรมมีอำนาจหน้าที่ ตามที่ประธานกำหนดให้และช่วยเหลือประธานใน
กิจกรรมต่างๆ ทั่วไปรักษาการแทนประธานในเมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติงานได้
๑๐.๓ เลขานุการมีหน้าที่จดบันทึกการประชุม ทำหนังสือให้ประธานเป็นผู้นัดประชุม
กำหนดเวลา สถานที่ที่จะประชุมแจ้งให้สมาชิกทราบ ประสานงานกับกรรมการทุกฝ่าย
๑๐.๔ นายทะเบียนมีหน้าที่รักษาทะเบียนสมาชิกชมรม รักษาเอกสารทุกชนิดตลอดจนเอกสาร
การเงิน
๑๐.๕ เหรัญญิกมีหน้าที่เก็บรักษาเงินของชมรม จ่ายเงินตามคำสั่งของประธาน แต่ถ้ามีเงินตั้งแต่
500 บาท ขึ้นไป จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียนก่อน
๑๐.๖ ประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานแจ้งข่าวสาร และข่าวต่างๆ ให้มีผู้เกี่ยวข้องได้
ทราบโดยทั่วกัน
ข้อ ๑๑. การประชุมคณะกรรมการบริหารให้มีอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้ประธานเป็นผู้กำหนด วัน
เวลา และสถานที่ประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมจะต้องมีกรรมการประชุมไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของ
กรรมการทั้งหมด การพิจารณาวินิจฉัยให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติเด็ดขาด ถ้าคะแนนเท่ากันให้
ประธานชี้ขาด
ข้อ ๑๒. ในการประชุม ให้ประธานทำหน้าที่ประธาน เมื่อประธานไม่อยู่ให้รองประธานทำหน้าที่ประธาน
ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่
ประชุม
ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.....................................
(นายสายัณ เชาวลิต)
รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
ข้อบังคับชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
๑. ชื่อของชมรม “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม”
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการใช้และรักษาสิทธิของเยาวชนผู้บริโภค
๒.๒ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนในทางสร้างสรรค์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
๓. หน้าที่ของชมรม
๓.๑ ทำการศึกษาเรื่องสินค้าและบริการ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อนำออกเผยแพร่ให้
สมาชิกของชมรมและผู้สนใจได้ทราบและจัดรณรงค์ต่อต้านผู้ประกอบธุรกิจที่รับผิดชอบต่อ
สินค้าและบริการดังกล่าว
๓.๒ วางแผนจัดและดำเนินรายการ เผยแพร่ให้ความรู้ ( Consumer Education Programme) ขึ้นใน
สถานศึกษา ยกตัวอย่างเช่น จัดการอภิปรายและสัมมนา นิทรรศการ กิจกรรมเหล่านี้ควร
จัดเป็นประจำและเตรียมไว้สำหรับระยะเวลานานด้วย
๓.๓ จัดทำโครงการต่างๆ และทำการสอบสวนเรื่องใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อประโยชน์ของ
ผู้บริโภคในท้องถิ่นและทั่วไปและเสนอผลให้ทราบทั่วกัน
๓.๔ เป็นผู้จัดให้มีการประชุมหารือ และติดต่อประสานงานระหว่างชมรมเยาวชนผู้บริโภค กับ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓.๕ ให้ความร่วมมือกับสมาคมหรือชมรมคุ้มครองผู้บริโภค และร่วมกิจกรรมของคุ้มครอง
ผู้บริโภคและรายการเผยแพร่ในระดับต่างๆ ของชมรม
๓.๖ ทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้ชมรมประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของชมรม
๔. สมาชิกภาพ
๔.๑ นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกษานั้นๆ ย่อมเป็นสมาชิกของชมรมได้หากปฏิบัติตามกฎ
ข้อบังคับของชมรม และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
๔.๒ เงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาชิก และกำหนดเวลาชำระองค์การบริหาร
ของชมรมและกิจกรรมของชมรมนั้นให้ตกลงกันในที่ประชุมใหญ่
๕. การประชุมใหญ่ประจำปี
๕.๑ ให้มีการประชุมใหญ่ประจำปี ปีละครั้ง ณ เวลาและสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับสมาชิก
ทั้งหมดให้แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าในเวลาอันสมควร
๕.๒ ในระเบียบวาระการประชุมให้เสนอผลงานประจำปี รายงานการเงิน และเลือกตั้งกรรมการ
และเรื่องอื่นถ้ามี
๕.๓ ในการประชุมใหญ่ประจำปี ให้มีการเลือกตั้งประธานชมรม เลขานุการ เหรัญญิก และ
กรรมการทำหน้าที่กรรมการบริหารชมรม การเลือกตั้งนั้นจะใช้วิธีการลงคะแนนเสียงหรือ
โดยการยกมือก็ได้
๕.๔ ผลการเลือกตั้ง และรายงานประจำปีของชมรม ควรส่งไปให้สำนักงานคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจะได้สามารถประสานงานให้คำแนะนำติดตามพัฒนาการของชมรม
และให้ความสนับสนุนทางด้านวัตถุและอื่นๆ
๕.๕ การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ จะกระทำได้โดยคณะกรรมการบริหารเมื่อมีความจำเป็นหรือ
โดยกรรมการจำนวนหนึ่งครบองค์ประชุม
๖. คณะกรรมการบริหารงาน
๖.๑ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งปวงของชมรม
๖.๒ คณะกรรมการบริหารที่ปรึกษา ควรประชุมกันเมื่อเห็นว่าจำเป็น เพื่อหารือเรื่องผลงาน
รายงานโครงการและปัญหาต่างๆ ของชมรม แต่คณะกรรมการบริหารต้องไม่บงการชมรมใน
เรื่องการวางแผน การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรม การเข้ามามีส่วนร่วมของสมาชิกทุก
คนในกิจกรรมเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ คณะกรรมการบริหารจักต้องแสวงหาความเห็น
ข้อคิดเห็นของสมาชิกทั้งหมด และส่งเสริมให้มีการอภิปรายกันเสียก่อนที่จะมีการตกลงด้วย
เรื่องใดๆ
๖.๓ คณะกรรมการบริหารควรจะให้ชมรมและสมาชิกได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
๗. หน้าที่ของกรรมการชมรม
ประธาน - เป็นประธานการประชุมกรรมการบริหาร และการประชุมใหญ่
- ดูแลให้คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ
เลขานุการ - จดรายงานการประชุม และรักษาทะเบียนของสมาชิกชมรม
- ประสานงานกิจกรรมต่างๆ
- จัดทำรายงานของชมรม
- ทำหน้าที่ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการ
ดำเนินกิจกรรมหรือรายงานต่างๆ ของชมรม
เหรัญญิก - รับผิดชอบในเรื่องการเงินของชมรม และเสนอการเงินต่อที่ประชุม
ที่ปรึกษา - รับผิดชอบในการให้คำปรึกษา และการให้ความรู้แก่สมาชิกของชมรม
ระเบียบข้อบังคับของชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
-----------------------------
ระเบียบข้อบังคับของชมรมคุ้มครองผู้บริโภคโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
หมวดที่ ๑
บททั่วไป
ข้อ ๑. ชมรมมีชื่อว่า “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม”
ข้อ ๒. เครื่องหมายของชมรมมีลักษณะ
ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
ความหมาย รวมพลังยุว อสคบ.
หมวดที่ ๒
ข้อ ๓. วัตถุประสงค์ของชมรม
๓.๑ เพื่อเผยแพร่ให้ความรู้แก่สมาชิกชมรม และนักเรียนในโรงเรียนทุกคนได้ตระหนักถึงสิทธิ
และหน้าที่ของผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
๓.๒ เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร ความเข้าใจ และส่งเสริมการบริโภคศึกษาในโรงเรียนให้กว้างขวาง
ยิ่งขึ้น
๓.๓ เพื่อให้นักเรียนสามารถเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพและงดเว้นการใช้สินค้า
และบริการที่ไม่เหมาะสม
๓.๔ เพื่อให้นักเรียนสามารถถ่ายทอดความรู้ และเป็นสื่อชักนำประชาชนในชุมชนให้ตระหนักถึง
บทบาท สิทธิ และหน้าที่ของตนเองและเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค
๓.๕ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ ในการรวมพลังผู้บริโภค
๓.๖ เพื่อให้เกิดความสามัคคีในหมู่นักเรียนในโรงเรียน
๓.๗ เพื่อให้สมาชิกทุกคนมีประสบการณ์ในการทำงานเพื่อสังคมส่วนรวมร่วมกัน
๓.๘ เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน และอาจารย์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
หมวดที่ ๓
การเข้าเป็นสมาชิก
ข้อ ๔. ผู้ประสงค์จะเข้าเป็นสมาชิกของชมรม ให้ยื่นใบสมัครต่อเลขานุการของชมรมตามแบบฟอร์ม ซึ่งจะขอได้จากประชาสัมพันธ์ของชมรม
หมวดที่ ๔
สิทธิหน้าที่ของสมาชิก
ข้อ ๕. สมาชิกมีหน้าที่ดังนี้
๕.๑ มีสิทธิเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับชมรมต่อกรรมการชมรม
๕.๒ มีสิทธิเข้าร่วมการประชุมของชมรมตามที่คณะกรรมการชมรมกำหนด
๕.๓ มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งกรรมการชมรมตามที่คณะกรรมการชมรมกำหนด
๕.๔ มีสิทธิได้รับสิ่งต่างๆ ที่ชมรมจัดให้
ข้อ ๖. หน้าที่ของสมาชิก
๖.๑ ปฏิบัติตามวัตถุประสงค์และระเบียบของชมรม
๖.๒ เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
ข้อ ๗. การพ้นการเป็นสมาชิก
๗.๑ มีความประพฤติเสื่อมเสีย คณะกรรมการให้ออก โดยลงมติให้ออกด้วย
๗.๒ ตาย
๗.๓ ลาออกเป็นลายลักษณ์อักษร ยื่นต่อเลขานุการให้ประธานชมรมอนุมัติ
หมวดที่ ๕
การบริหารงาน
ข้อ ๘. การบริหารงานของชมรมให้มีคณะกรรมการบริหารคณะหนึ่งไม่เกิน 10 คนและคณะกรรมการนี้จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
๘.๑ ประธานชมรม ๑ คน
๘.๒ รองประธานชมรม ๑ คน
๘.๓ เลขานุการ ๑ คน
๘.๔ นายทะเบียน ๑ คน
๘.๕ เหรัญญิก ๑ คน
๘.๖ ประชาสัมพันธ์ ๑ คน
๘.๗ กรรมการ ๔ คน
ข้อ ๙. การเลือกตั้งคณะกรรมการชมรม
๙.๑ ประธานและรองประธานชมรมให้เลือกโดยความเห็นชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาชมรม
๙.๒ คณะกรรมการคนอื่นๆ ให้เลือกโดยประธาน และรองประธานกรรมการ
ข้อ ๑๐. กรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
๑๐.๑ ประธานมีอำนาจและหน้าที่บริหารกิจกรรมของชมรมให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และ
ระเบียบของชมรม และประธานในที่ประชุม
๑๐.๒ รองประธานชมรมมีอำนาจหน้าที่ ตามที่ประธานกำหนดให้และช่วยเหลือประธานใน
กิจกรรมต่างๆ ทั่วไปรักษาการแทนประธานในเมื่อประธานไม่สามารถปฏิบัติงานได้
๑๐.๓ เลขานุการมีหน้าที่จดบันทึกการประชุม ทำหนังสือให้ประธานเป็นผู้นัดประชุม
กำหนดเวลา สถานที่ที่จะประชุมแจ้งให้สมาชิกทราบ ประสานงานกับกรรมการทุกฝ่าย
๑๐.๔ นายทะเบียนมีหน้าที่รักษาทะเบียนสมาชิกชมรม รักษาเอกสารทุกชนิดตลอดจนเอกสาร
การเงิน
๑๐.๕ เหรัญญิกมีหน้าที่เก็บรักษาเงินของชมรม จ่ายเงินตามคำสั่งของประธาน แต่ถ้ามีเงินตั้งแต่
500 บาท ขึ้นไป จะต้องได้รับอนุมัติจากผู้บริหารโรงเรียนก่อน
๑๐.๖ ประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานแจ้งข่าวสาร และข่าวต่างๆ ให้มีผู้เกี่ยวข้องได้
ทราบโดยทั่วกัน
ข้อ ๑๑. การประชุมคณะกรรมการบริหารให้มีอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง โดยให้ประธานเป็นผู้กำหนด วัน
เวลา และสถานที่ประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมจะต้องมีกรรมการประชุมไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของ
กรรมการทั้งหมด การพิจารณาวินิจฉัยให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นมติเด็ดขาด ถ้าคะแนนเท่ากันให้
ประธานชี้ขาด
ข้อ ๑๒. ในการประชุม ให้ประธานทำหน้าที่ประธาน เมื่อประธานไม่อยู่ให้รองประธานทำหน้าที่ประธาน
ถ้าประธานและรองประธานไม่อยู่ให้ที่ประชุมเลือกกรรมการคนใดคนหนึ่งเป็นประธานในที่
ประชุม
ความเห็นของผู้บริหารโรงเรียน
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.....................................
(นายสายัณ เชาวลิต)
รองผู้อำนวยการ รักษาราชการแทน
ผู้อำนวยการโรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม
ข้อบังคับชมรมคุ้มครองผู้บริโภค
๑. ชื่อของชมรม “ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค โรงเรียนพรหมคีรีพิทยาคม”
๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวในการใช้และรักษาสิทธิของเยาวชนผู้บริโภค
๒.๒ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมเยาวชนในทางสร้างสรรค์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
๓. หน้าที่ของชมรม
๓.๑ ทำการศึกษาเรื่องสินค้าและบริการ ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อนำออกเผยแพร่ให้
สมาชิกของชมรมและผู้สนใจได้ทราบและจัดรณรงค์ต่อต้านผู้ประกอบธุรกิจที่รับผิดชอบต่อ
สินค้าและบริการดังกล่าว
๓.๒ วางแผนจัดและดำเนินรายการ เผยแพร่ให้ความรู้ ( Consumer Education Programme) ขึ้นใน
สถานศึกษา ยกตัวอย่างเช่น จัดการอภิปรายและสัมมนา นิทรรศการ กิจกรรมเหล่านี้ควร
จัดเป็นประจำและเตรียมไว้สำหรับระยะเวลานานด้วย
๓.๓ จัดทำโครงการต่างๆ และทำการสอบสวนเรื่องใดๆ ที่กระทบกระเทือนต่อประโยชน์ของ
ผู้บริโภคในท้องถิ่นและทั่วไปและเสนอผลให้ทราบทั่วกัน
๓.๔ เป็นผู้จัดให้มีการประชุมหารือ และติดต่อประสานงานระหว่างชมรมเยาวชนผู้บริโภค กับ
หน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
๓.๕ ให้ความร่วมมือกับสมาคมหรือชมรมคุ้มครองผู้บริโภค และร่วมกิจกรรมของคุ้มครอง
ผู้บริโภคและรายการเผยแพร่ในระดับต่างๆ ของชมรม
๓.๖ ทำกิจกรรมต่างๆ ที่จะช่วยให้ชมรมประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของชมรม
๔. สมาชิกภาพ
๔.๑ นักเรียน นักศึกษา ของสถานศึกษานั้นๆ ย่อมเป็นสมาชิกของชมรมได้หากปฏิบัติตามกฎ
ข้อบังคับของชมรม และเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของชมรม
๔.๒ เงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิก และค่าบำรุงสมาชิก และกำหนดเวลาชำระองค์การบริหาร
ของชมรมและกิจกรรมของชมรมนั้นให้ตกลงกันในที่ประชุมใหญ่
๕. การประชุมใหญ่ประจำปี
๕.๑ ให้มีการประชุมใหญ่ประจำปี ปีละครั้ง ณ เวลาและสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับสมาชิก
ทั้งหมดให้แจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้าในเวลาอันสมควร
๕.๒ ในระเบียบวาระการประชุมให้เสนอผลงานประจำปี รายงานการเงิน และเลือกตั้งกรรมการ
และเรื่องอื่นถ้ามี
๕.๓ ในการประชุมใหญ่ประจำปี ให้มีการเลือกตั้งประธานชมรม เลขานุการ เหรัญญิก และ
กรรมการทำหน้าที่กรรมการบริหารชมรม การเลือกตั้งนั้นจะใช้วิธีการลงคะแนนเสียงหรือ
โดยการยกมือก็ได้
๕.๔ ผลการเลือกตั้ง และรายงานประจำปีของชมรม ควรส่งไปให้สำนักงานคณะกรรมการ
คุ้มครองผู้บริโภค เพื่อจะได้สามารถประสานงานให้คำแนะนำติดตามพัฒนาการของชมรม
และให้ความสนับสนุนทางด้านวัตถุและอื่นๆ
๕.๕ การเรียกประชุมใหญ่วิสามัญ จะกระทำได้โดยคณะกรรมการบริหารเมื่อมีความจำเป็นหรือ
โดยกรรมการจำนวนหนึ่งครบองค์ประชุม
๖. คณะกรรมการบริหารงาน
๖.๑ มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งปวงของชมรม
๖.๒ คณะกรรมการบริหารที่ปรึกษา ควรประชุมกันเมื่อเห็นว่าจำเป็น เพื่อหารือเรื่องผลงาน
รายงานโครงการและปัญหาต่างๆ ของชมรม แต่คณะกรรมการบริหารต้องไม่บงการชมรมใน
เรื่องการวางแผน การตัดสินใจ และการดำเนินกิจกรรม การเข้ามามีส่วนร่วมของสมาชิกทุก
คนในกิจกรรมเหล่านี้ย่อมเป็นสิ่งสำคัญ คณะกรรมการบริหารจักต้องแสวงหาความเห็น
ข้อคิดเห็นของสมาชิกทั้งหมด และส่งเสริมให้มีการอภิปรายกันเสียก่อนที่จะมีการตกลงด้วย
เรื่องใดๆ
๖.๓ คณะกรรมการบริหารควรจะให้ชมรมและสมาชิกได้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับ
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
๗. หน้าที่ของกรรมการชมรม
ประธาน - เป็นประธานการประชุมกรรมการบริหาร และการประชุมใหญ่
- ดูแลให้คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ
เลขานุการ - จดรายงานการประชุม และรักษาทะเบียนของสมาชิกชมรม
- ประสานงานกิจกรรมต่างๆ
- จัดทำรายงานของชมรม
- ทำหน้าที่ประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในการ
ดำเนินกิจกรรมหรือรายงานต่างๆ ของชมรม
เหรัญญิก - รับผิดชอบในเรื่องการเงินของชมรม และเสนอการเงินต่อที่ประชุม
ที่ปรึกษา - รับผิดชอบในการให้คำปรึกษา และการให้ความรู้แก่สมาชิกของชมรม
การคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภค คืออะไร
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ไว้ดังนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติสิทธิผู้บริโภค ไว้ดังนี้
๑. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่จะได้รับข่าวสารจากการโฆษณาหรือการแสดงฉลากที่เป็นจริงจากผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งสิทธิที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการซื้อสินค้าหรือบริการ
๒. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ หมายถึง การที่ผู้บริโภคสามารถที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการโดยความสมัครใจ มีอิสระในการตัดสินใจโดยปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรมทั้งปวง
๓. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ หมายถึง การที่ผู้บริโภคใช้สินค้าหรือบริการใดก็ตาม สินค้าหรือบริการนั้นต้องมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
๔. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา หมายถึง สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ ตัวอย่างเช่น สัญญาบัตรเครดิตที่มีข้อสัญญาว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้บัตร ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ดอกเบี้ยค้างชำระ ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้บริโภคทราบ ไม่มีการระบุสิทธิของผู้บริโภคในการขอยกเลิกสัญญาบัตรเครดิต ข้อสัญญาเหล่านี้ถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
๕. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย หมายถึง กรณีที่ผู้บริโภคถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้บริโภคมีสิทธิในการเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น เช่น อาจร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาคที่ศาลากลางจังหวัดที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการนั้นเพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือ
ท่านจะดำเนินการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคได้อย่างไร
การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเผยแพร่ให้ความรู้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นเพียงการรับรู้ข้อมูลด้วยการนำเสนอวิธีการด้านสารนิเทศ (Information Services) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ซึ่งมีสื่อต่างๆ มากมายหลายแบบให้เลือก การมีส่วนร่วมในการเข้ารับฟังการชี้แจง การอภิปรายหรือร่วมอภิปราย ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ตลอดจนการร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ การที่จะเลือกวิธีการใดหรือสื่อใดให้เหมาะสม จะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณเป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจ ในส่วนนี้จะเสนอวิธีการและเทคนิคต่างๆ สำหรับดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิควิธีการของการมีส่วนร่วม
การให้มีส่วนร่วมนั้นสามารถดำเนินการได้หลายระดับ และได้หลากหลายรูปแบบ การมีส่วนร่วมในด้านรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ควรจะเป็นวิธีการของการมีส่วนร่วมขั้นพื้นฐานของสาธารณชน หรือ กลุ่มผู้บริโภค โดยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในลักษณะเป็นสิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ นอกจากการรับรู้แล้ว การมีส่วนร่วมอาจจะเป็นในลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น การสัมมนาการประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุม การรณรงค์ โดยอาจจะเข้ามาร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น ซึ่งในการเลือกเทคนิคนั้นจะต้องพิจารณาจากประเด็นปัญหา เช่น การถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าหรือบริการ การถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภค การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา เป็นต้น
๑. วิธีการด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Services)
การสารนิเทศ เป็นการจัดหาข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และควรรู้แก่สาธารณชนและผู้มีส่วนร่วมหรือผู้บริโภค เป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายที่สุดและเป็นความจำเป็นเบื้องต้นของการมีส่วนร่วม หากไม่มีข้อมูลข่าวสารที่จริงและถูกต้อง ย่อมจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าที่ผิดได้ การให้ข้อมูลข่าวสารจะมีประสิทธิภาพมากจะต้องคำนึงถึง
· ข่าวสารอะไรที่ต้องการเผยแพร่
· ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ควรจะต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ของกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค
· ใครคือผู้ที่ให้ความสนใจต่อข้อมูลนี้มากที่สุด
· ใครคือผู้ที่ต้องได้รับข้อมูลข่าวสารนี้
· ผู้เผยแพร่ต้องการให้ผู้รับข่าวสารทำอะไรบ้าง นอกเหนือจากการได้รับข่าวสาร และสิ่งนั้นคืออะไร
· แหล่งข้อมูลข่าวสาร
๒. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation)
การประชาสัมพันธ์เป็นรูปแบบหรือกระบวนการของการติดต่อสื่อสาร (Communication) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ไปสู่กลุ่มผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายให้กลุ่มผู้บริโภคได้รับทราบข่าวสาร ความเข้าใจ ความเชื่อถือ และการแก้ไขความเข้าใจผิด อันเป็นการสร้างเสริมและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนเพื่อสร้างศรัทธาและภาพลักษณ์ที่ดี การประชาสัมพันธ์จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนผู้บริโภคโดยเป็นเทคนิคทางอ้อมในอันที่จะนำไปสู่การรักษาสิทธิของผู้บริโภค
๓. การโฆษณาเผยแพร่ (Publicity)
การโฆษณาเผยแพร่เป็นการเผยแพร่ข่าวสารและความรู้เรื่องราวต่างๆ ให้ประชาชนผู้บริโภคทราบ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการใช้สื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ และสื่ออื่นๆ เช่น หอกระจายข่าว ที่ประชุมหมู่บ้าน ที่จัดงานบุญ ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน เป็นต้น โดยมิได้เป็นการโฆษณาชักจูงแต่อย่างใดทั้งนี้ การโฆษณาเผยแพร่ต่างจากการประชาสัมพันธ์ คือ การโฆษณาเผยแพร่เป็นการให้ข่าวสารแบบทางเดียว (One Way Process) ไม่ได้รับฟังความคิดเห็น หรือทัศนคติของกลุ่มผู้บริโภค แต่การประชาสัมพันธ์ต้องมีทั้งการส่งข่าวสาร และสำรวจความคิดเห็นของผู้รับข่าวสารด้วย
๔. การสำรวจความคิดเห็น สำรวจประชามติ (Polling)
เป็นการสำรวจความคิดเห็นหรือความรู้สึกของประชาชนผู้บริโภคต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการใช้แบบสอบถามออกไปสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรง ซึ่งอาจสอบถามทั้งหมดถ้าเป็นกลุ่มเล็ก หรือสอบถามเพียงบางคนโดยการสุ่มตัวอย่างก็ได้หากเป็นกลุ่มใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งจะเป็นพลังที่จะเสริมหรือต้านทานก็ได้
๕. แผ่นพับ (Brochure)
แผ่นพับเป็นการอธิบายสั้นๆ ถึงประเด็นที่สำคัญในลักษณะสั้นๆ โดยไม่ควรมีเนื้อหาเกินความจำเป็น ซึ่งควรมีเนื้อหาเพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจกว้างๆ ทั้งนี้ อาจจะทำแผ่นพับหลายชุด มากกว่าที่ใส่เนื้อหามากๆ ไว้ในแผ่นพับชุดเดียว โดยแต่ละชุดอาจจะเป็นการใส่เนื้อหาแต่ละระดับ ข้อมูลที่อยู่ในแต่ละแผ่นพับจะต้องสามารถกำหนดได้เหมาะสมกับบุคคล หรืออาจเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มบนพื้นฐานของความสนใจของพวกเขาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผ่นพับสำหรับผู้บริโภค ผู้ประกอบการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำแผ่นพับจะต้องระบุที่อยู่สำหรับผู้ที่ต้องการจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป หรือผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ฉะนั้นรูปแบบนี้จะดึงดูดความสนใจได้มาก โดยจะต้องเน้นเนื้อหาให้เหมาะสมซึ่งจะต้องเข้าถึงกลุ่มชนได้อย่างกว้างขวาง (Maximum Exposure) และเป็นวิธีที่ดำเนินการได้ง่าย และซึมซาบได้รวดเร็ว (Convenience in Public Access)
๗. วิทยุ (Radio)
วิทยุเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง นอกจากนี้ วิทยุเป็นสื่อที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองกับผู้ฟัง สร้างความรู้สึกใกล้ชิดที่ผู้ฟังสามารถนำติดตัวไปได้ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่ง จึงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะรู้หนังสือหรือไม่ก็ตาม ยิ่งกว่านั้นผู้ฟังสามารถฟังวิทยุได้ด้วยและทำงานอื่นไปด้วยก็ได้ ไม่ต้องใช้สมาธิในการอ่าน แต่ไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center)
ศูนย์สารสนเทศเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ หรือความคิดเห็นต่างๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลายๆ กลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป จนถึงกลุ่มเฉพาะต่างๆ ที่ตั้งของศูนย์สารสนเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยจะมีประสิทธิภาพมากหากตั้งอยู่ในชุมชนที่สะดวกที่สาธารณชนจะสามารถเข้าไปดูข้อมูล และบันทึกคำถามหรือสิ่งที่ตนสังเกตได้ ฉะนั้นรูปแบบนี้จะดึงดูดความสนใจได้มากโดยจะต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือและมีเพียงพอ ซึ่งจะเข้าถึงกลุ่มชนหรือผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง และเป็นวิธีการดำเนินการได้ง่าย
๙. การเปิดบ้าน (Open House)
การเปิดบ้านมีบทบาทไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับศูนย์สารสนเทศหรือมากกว่า แต่ยังจะต้องมีหน้าที่ที่มีความรู้ที่สามารถตอบคำถามต่อผู้สนใจหรือสาธารณชน อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่สำคัญ มีเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดบางอย่างเพื่อติดตามข้อมูลต่อไป นอกจากนี้ ควรจะต้องมีการติดประกาศความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้บริโภค ได้จากสาธารณะ ซึ่งจะก่อให้เกิดบันทึกความห่วงใย เรื่องราวของการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นการเผยแพร่ข่าวสารที่สำคัญสู่สาธารณะ อันเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารซึ่งกันและกันของผู้เกี่ยวข้องในชุมชน และของชุมชนกับหน่วยงาน ฉะนั้นการเปิดบ้านเป็นเวทีที่มีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งให้โอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในปัญหาได้มีโอกาสในการพูดอภิปรายโดยเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันดี ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการสร้างจิตสำนึกรักษาสิทธิของผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของประชาชน
๑. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาแก่ผู้บริโภค ในทุกระดับการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย และอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือบริการ
๓. ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ
๔. ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
๕. สนับสนุนหรือทำการศึกษาและวิจัยปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น
๖. ดำเนินการเผยแพร่วิชาการและให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างนิสัยในการบริโภค ที่เป็นการส่งเสริมพลานามัย ประหยัด และใช้ทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
๗. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ไว้ดังนี้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ บัญญัติสิทธิผู้บริโภค ไว้ดังนี้
๑. สิทธิที่จะได้รับข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอ เกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ หมายถึง สิทธิที่จะได้รับข่าวสารจากการโฆษณาหรือการแสดงฉลากที่เป็นจริงจากผู้ประกอบธุรกิจ รวมทั้งสิทธิที่ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่เพียงพอที่จะไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในการซื้อสินค้าหรือบริการ
๒. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ หมายถึง การที่ผู้บริโภคสามารถที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือบริการโดยความสมัครใจ มีอิสระในการตัดสินใจโดยปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรมทั้งปวง
๓. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ หมายถึง การที่ผู้บริโภคใช้สินค้าหรือบริการใดก็ตาม สินค้าหรือบริการนั้นต้องมีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสมแก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
๔. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา หมายถึง สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ ตัวอย่างเช่น สัญญาบัตรเครดิตที่มีข้อสัญญาว่า การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้บัตร ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ ดอกเบี้ยค้างชำระ ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องแจ้งเหตุผลให้ผู้บริโภคทราบ ไม่มีการระบุสิทธิของผู้บริโภคในการขอยกเลิกสัญญาบัตรเครดิต ข้อสัญญาเหล่านี้ถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค
๕. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย หมายถึง กรณีที่ผู้บริโภคถูกผู้ประกอบธุรกิจละเมิดสิทธิก่อให้เกิดความเสียหาย ผู้บริโภคมีสิทธิในการเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำนั้น เช่น อาจร้องเรียนที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาคที่ศาลากลางจังหวัดที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการนั้นเพื่อให้ดำเนินการช่วยเหลือ
ท่านจะดำเนินการเผยแพร่ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคได้อย่างไร
การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมเผยแพร่ให้ความรู้ มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งด้วยวิธีการต่างๆ หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นเพียงการรับรู้ข้อมูลด้วยการนำเสนอวิธีการด้านสารนิเทศ (Information Services) การประชาสัมพันธ์ (Public Relation) ซึ่งมีสื่อต่างๆ มากมายหลายแบบให้เลือก การมีส่วนร่วมในการเข้ารับฟังการชี้แจง การอภิปรายหรือร่วมอภิปราย ร่วมคิดร่วมตัดสินใจ ตลอดจนการร่วมดำเนินการ ทั้งนี้ การที่จะเลือกวิธีการใดหรือสื่อใดให้เหมาะสม จะต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายและงบประมาณเป็นเกณฑ์หลักในการตัดสินใจ ในส่วนนี้จะเสนอวิธีการและเทคนิคต่างๆ สำหรับดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
เทคนิควิธีการของการมีส่วนร่วม
การให้มีส่วนร่วมนั้นสามารถดำเนินการได้หลายระดับ และได้หลากหลายรูปแบบ การมีส่วนร่วมในด้านรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ควรจะเป็นวิธีการของการมีส่วนร่วมขั้นพื้นฐานของสาธารณชน หรือ กลุ่มผู้บริโภค โดยการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ในลักษณะเป็นสิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ นอกจากการรับรู้แล้ว การมีส่วนร่วมอาจจะเป็นในลักษณะการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เช่น การสัมมนาการประชุมเชิงปฏิบัติการ การประชุม การรณรงค์ โดยอาจจะเข้ามาร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น ซึ่งในการเลือกเทคนิคนั้นจะต้องพิจารณาจากประเด็นปัญหา เช่น การถูกเอารัดเอาเปรียบจากการเลือกซื้อ เลือกใช้สินค้าหรือบริการ การถูกละเมิดสิทธิของผู้บริโภค การไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำสัญญา เป็นต้น
๑. วิธีการด้านข้อมูลข่าวสาร (Information Services)
การสารนิเทศ เป็นการจัดหาข้อมูล ข่าวสาร หรือข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เป็นประโยชน์และควรรู้แก่สาธารณชนและผู้มีส่วนร่วมหรือผู้บริโภค เป็นวิธีการสื่อสารที่ง่ายที่สุดและเป็นความจำเป็นเบื้องต้นของการมีส่วนร่วม หากไม่มีข้อมูลข่าวสารที่จริงและถูกต้อง ย่อมจะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกซื้อเลือกใช้สินค้าที่ผิดได้ การให้ข้อมูลข่าวสารจะมีประสิทธิภาพมากจะต้องคำนึงถึง
· ข่าวสารอะไรที่ต้องการเผยแพร่
· ข้อมูลข่าวสารเหล่านี้ควรจะต้องตอบสนองวัตถุประสงค์ของกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้บริโภค
· ใครคือผู้ที่ให้ความสนใจต่อข้อมูลนี้มากที่สุด
· ใครคือผู้ที่ต้องได้รับข้อมูลข่าวสารนี้
· ผู้เผยแพร่ต้องการให้ผู้รับข่าวสารทำอะไรบ้าง นอกเหนือจากการได้รับข่าวสาร และสิ่งนั้นคืออะไร
· แหล่งข้อมูลข่าวสาร
๒. การประชาสัมพันธ์ (Public Relation)
การประชาสัมพันธ์เป็นรูปแบบหรือกระบวนการของการติดต่อสื่อสาร (Communication) เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวข่าวสารทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ไปสู่กลุ่มผู้บริโภค โดยมีจุดมุ่งหมายให้กลุ่มผู้บริโภคได้รับทราบข่าวสาร ความเข้าใจ ความเชื่อถือ และการแก้ไขความเข้าใจผิด อันเป็นการสร้างเสริมและรักษาความสัมพันธ์ที่ดี ตลอดจนเพื่อสร้างศรัทธาและภาพลักษณ์ที่ดี การประชาสัมพันธ์จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกของประชาชนผู้บริโภคโดยเป็นเทคนิคทางอ้อมในอันที่จะนำไปสู่การรักษาสิทธิของผู้บริโภค
๓. การโฆษณาเผยแพร่ (Publicity)
การโฆษณาเผยแพร่เป็นการเผยแพร่ข่าวสารและความรู้เรื่องราวต่างๆ ให้ประชาชนผู้บริโภคทราบ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการใช้สื่อทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์ และสื่ออื่นๆ เช่น หอกระจายข่าว ที่ประชุมหมู่บ้าน ที่จัดงานบุญ ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน เป็นต้น โดยมิได้เป็นการโฆษณาชักจูงแต่อย่างใดทั้งนี้ การโฆษณาเผยแพร่ต่างจากการประชาสัมพันธ์ คือ การโฆษณาเผยแพร่เป็นการให้ข่าวสารแบบทางเดียว (One Way Process) ไม่ได้รับฟังความคิดเห็น หรือทัศนคติของกลุ่มผู้บริโภค แต่การประชาสัมพันธ์ต้องมีทั้งการส่งข่าวสาร และสำรวจความคิดเห็นของผู้รับข่าวสารด้วย
๔. การสำรวจความคิดเห็น สำรวจประชามติ (Polling)
เป็นการสำรวจความคิดเห็นหรือความรู้สึกของประชาชนผู้บริโภคต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการใช้แบบสอบถามออกไปสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรง ซึ่งอาจสอบถามทั้งหมดถ้าเป็นกลุ่มเล็ก หรือสอบถามเพียงบางคนโดยการสุ่มตัวอย่างก็ได้หากเป็นกลุ่มใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี ซึ่งจะเป็นพลังที่จะเสริมหรือต้านทานก็ได้
๕. แผ่นพับ (Brochure)
แผ่นพับเป็นการอธิบายสั้นๆ ถึงประเด็นที่สำคัญในลักษณะสั้นๆ โดยไม่ควรมีเนื้อหาเกินความจำเป็น ซึ่งควรมีเนื้อหาเพียงพอที่จะทำให้เกิดความเข้าใจกว้างๆ ทั้งนี้ อาจจะทำแผ่นพับหลายชุด มากกว่าที่ใส่เนื้อหามากๆ ไว้ในแผ่นพับชุดเดียว โดยแต่ละชุดอาจจะเป็นการใส่เนื้อหาแต่ละระดับ ข้อมูลที่อยู่ในแต่ละแผ่นพับจะต้องสามารถกำหนดได้เหมาะสมกับบุคคล หรืออาจเป็นการเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มบนพื้นฐานของความสนใจของพวกเขาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น แผ่นพับสำหรับผู้บริโภค ผู้ประกอบการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำแผ่นพับจะต้องระบุที่อยู่สำหรับผู้ที่ต้องการจะได้รับข้อมูลเพิ่มเติมต่อไป หรือผู้ที่ต้องการเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ฉะนั้นรูปแบบนี้จะดึงดูดความสนใจได้มาก โดยจะต้องเน้นเนื้อหาให้เหมาะสมซึ่งจะต้องเข้าถึงกลุ่มชนได้อย่างกว้างขวาง (Maximum Exposure) และเป็นวิธีที่ดำเนินการได้ง่าย และซึมซาบได้รวดเร็ว (Convenience in Public Access)
๗. วิทยุ (Radio)
วิทยุเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงประชาชนผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและครอบคลุมพื้นที่ได้กว้างขวาง นอกจากนี้ วิทยุเป็นสื่อที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเองกับผู้ฟัง สร้างความรู้สึกใกล้ชิดที่ผู้ฟังสามารถนำติดตัวไปได้ทุกเวลาและทุกหนทุกแห่ง จึงเป็นสื่อที่เข้าถึงผู้บริโภคได้ทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะรู้หนังสือหรือไม่ก็ตาม ยิ่งกว่านั้นผู้ฟังสามารถฟังวิทยุได้ด้วยและทำงานอื่นไปด้วยก็ได้ ไม่ต้องใช้สมาธิในการอ่าน แต่ไม่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๘. ศูนย์สารสนเทศ (Information Center)
ศูนย์สารสนเทศเป็นที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ หรือความคิดเห็นต่างๆ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคหลายๆ กลุ่ม ตั้งแต่กลุ่มผู้บริโภคทั่วไป จนถึงกลุ่มเฉพาะต่างๆ ที่ตั้งของศูนย์สารสนเทศมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง โดยจะมีประสิทธิภาพมากหากตั้งอยู่ในชุมชนที่สะดวกที่สาธารณชนจะสามารถเข้าไปดูข้อมูล และบันทึกคำถามหรือสิ่งที่ตนสังเกตได้ ฉะนั้นรูปแบบนี้จะดึงดูดความสนใจได้มากโดยจะต้องมีข้อมูลที่เชื่อถือและมีเพียงพอ ซึ่งจะเข้าถึงกลุ่มชนหรือผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง และเป็นวิธีการดำเนินการได้ง่าย
๙. การเปิดบ้าน (Open House)
การเปิดบ้านมีบทบาทไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลในลักษณะเดียวกันกับศูนย์สารสนเทศหรือมากกว่า แต่ยังจะต้องมีหน้าที่ที่มีความรู้ที่สามารถตอบคำถามต่อผู้สนใจหรือสาธารณชน อภิปรายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่สำคัญ มีเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดบางอย่างเพื่อติดตามข้อมูลต่อไป นอกจากนี้ ควรจะต้องมีการติดประกาศความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้บริโภค ได้จากสาธารณะ ซึ่งจะก่อให้เกิดบันทึกความห่วงใย เรื่องราวของการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นรูปธรรมซึ่งเป็นการเผยแพร่ข่าวสารที่สำคัญสู่สาธารณะ อันเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและข่าวสารซึ่งกันและกันของผู้เกี่ยวข้องในชุมชน และของชุมชนกับหน่วยงาน ฉะนั้นการเปิดบ้านเป็นเวทีที่มีปฏิสัมพันธ์ ซึ่งให้โอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องในปัญหาได้มีโอกาสในการพูดอภิปรายโดยเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันดี ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญของการสร้างจิตสำนึกรักษาสิทธิของผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมของประชาชน
๑. รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจ
๒. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาแก่ผู้บริโภค ในทุกระดับการศึกษาเกี่ยวกับความปลอดภัย และอันตรายที่อาจได้รับจากสินค้าหรือบริการ
๓. ประสานงานกับส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมส่งเสริม หรือกำหนดมาตรฐานของสินค้าหรือบริการ
๔. ติดตามและสอดส่องพฤติการณ์ของผู้ประกอบธุรกิจ ซึ่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
๕. สนับสนุนหรือทำการศึกษาและวิจัยปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานอื่น
๖. ดำเนินการเผยแพร่วิชาการและให้ความรู้และการศึกษาแก่ผู้บริโภคเพื่อสร้างนิสัยในการบริโภค ที่เป็นการส่งเสริมพลานามัย ประหยัด และใช้ทรัพยากรของชาติให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
๗. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือคณะกรรมการเฉพาะเรื่องมอบหมาย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)